ผลวิจัยล่าสุดของ Kaspersky เผย ความก้าวหน้าของผู้หญิงในวงการเทคโนโลยีของอาเซียนสะดุดช่วงล็อกดาวน์

ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีจำนวนเกือบครึ่งเชื่อว่าผลกระทบของ COVID-19 ชะลอความก้าวหน้าในอาชีพ แม้ว่าผู้หญิงจำนวน 64% จะเชื่อว่าโครงสร้างการทำงานระยะไกลจะทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศที่จำเป็นมากขึ้น ในขณะที่ชีวิตช่วงล็อกดาวน์ถูกกำหนดให้เป็นตัวเร่งที่เป็นไปได้ในการมีโอกาสทางเพศที่เท่าเทียมกันในตำแหน่งไอที แต่อคติทางสังคมที่ยังมีอยู่ก็ได้ขัดขวางโอกาสการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น

ชีวิตช่วงการล็อกดาวน์นั้นมีแนวโน้มว่าจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเรื่องของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน ด้วยการจับอยู่ที่แง่มุมเรื่องของการวางแผนครอบครัว การดูแลครัครัว และเชิงสังคม ทำให้ภาพจำในจุดนี้เข้ามาลดทอนบทบาทและศักยภาพ ความพร้อมด้านเวลาในการที่จะทุ่มเทให้กับความก้าวหน้าในการงาน สายอาชีพลงไปอย่างมาก ผลกระทบจาก COVID หมายความว่าบริษัทองค์กรต่างๆ ถูกเร่งหรือแม้แต่บีบให้ก้าวเข้าสู่วิถีปฏิบัติแนวใหม่ในเพียงชั่วข้ามคืน และในระดับหนึ่ง การคาดการณ์นี้อีกนัยหนึ่งก็ช่วยเป็นการเปิดทางให้ทั้งอุตสาหกรรมได้ปรับเปลี่ยนมุมมองกันใหม่

รายงานเกี่ยวกับผู้หญิงในวงการเทคโนโลยี Women in Tech โดยแคสเปอร์สกี้ในหัวข้อ “Where are we now? Understanding the evolution of women in technology” การมองวิวัฒนาการสถานภาพของผู้หญิงในแวดวงเทคโนโลยี นั้นพบว่าผู้หญิงจากภูมิภาคนี้เกือบหนึ่งในสาม (25%) ทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและชื่นชอบที่จะทำงานจากบ้านมากกว่าการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ และด้วยจำนวนเดียวกันรายงานว่าการทำงานจากบ้านนั้นให้ประสิทธิภาพมากกว่า และผู้หญิง 28% เผยว่าตนจะมีความเป็นตัวของตัวเอง กำหนดทิศทางอะไรต่างๆ ได้ดีกว่าเมื่ออยู่ในออฟฟิศ ซึ่งเป็นผลการสำรวจที่ต่ำกว่าตัวเลขการสำรวจทั่วโลกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งอยู่ที่ 33%

อย่างไรก็ตาม สถิติที่น่าเป็นห่วงจากรายงานฉบับนี้เน้นไปที่ ความเป็นไปได้ของการทำงานจากบ้านของผู้หญิงในอุตสาหกรรมเทคนั้นไม่สอดคล้องไปกับความก้าวหน้าเชิงสังคม ‘working from home’ ทุกวันนี้ เกือบครึ่งของผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (46%) ทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่ต้องดิ้นรนจัดแบ่งเวลาชีวิตทำงานกับครอบครัวมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2563 แล้ว และเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ และยังเป็นแนวโน้มที่พบเห็นได้ทั่วโลกอีกด้วย

เมื่อมองลึกลงไปก็ยิ่งเห็นชัดถึงเหตุของที่มาแห่งความไม่สมดุลในแวดวงการทำงาน เมื่อผู้หญิงถูกถามถึงภารกิจประจำวันในแต่ละวันที่คอยมาดึงออกไปจากการทุ่มเทในการทำงาน จำนวน 66% กล่าวว่าตนต้องทำความสะอาดภายในบ้านเป็นส่วนใหญ่ และ 68% ต้องเป็นผู้ที่ดูแลการเรียนที่บ้านของลูกๆ และ 56% ต้องปรับชั่วโมงการทำงานเพื่อให้ลงตัวกับการดูแลครอบครัว ผลก็คือ 48% ของผู้หญิงที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าผลกระทบจาก COVID-19 นั้นได้เข้ามาหน่วง แทนที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางการงานของพวกตน

ดร. แพทริเซีย เกสโตโซ หัวหน้าฝ่าย Head of Scientific Customer Support บริษัท BIOVIA ซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัล 2020 Women in Software Changemakers และเป็นสมาชิก Ada’s List เครือข่ายวิชาชีพของผู้หญิง กล่าวว่า “ผลกระทบของโรคระบาดต่อผู้หญิงนั้นต่างกันไป บ้างก็ยินดีไปกับความคล่องตัวและการที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับบ้านออฟฟิศ ในขณะที่บางคนก็เหนื่อยสายตัวแทบขาดแทบหมดแรงแล้ว เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในการวางนโยบายรองรับพนักงานของตนให้มีหน้าที่รับผิดชอบที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล”

“ทิศทางที่น่าสนใจอีกประการได้แก่ โรคระบาดนี้ได้เข้ามาเร่งให้เกิดการมีพนักงานสองแบบ คือ ทำงานได้จากระยะไกลไม่ต้องเข้าออฟฟิศ และอีกพวกคือได้ทั้งสองแบบรวมอยู่ในองค์กรเดียวกัน ซึ่งก็ถือว่าท้าทายสำหรับบางคนที่ก็ต้องยอมรับว่าห่างไกลจากการทำงานรวมกับหัวหน้างานหรือผู้บริหารระดับสูง อาจจะลดทอนโอกาสที่จะได้รับมอบหมายงานที่ได้แสดงประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การได้รับโปรโมชั่นก็เป็นได้ พนักงานมักจะตระหนักดีในข้อเสียเปรียบนี้ และควรวางแผนการทำงานเพื่อลดข้อด้อยในจุดนี้ด้วยเช่นกัน”

ตัวอย่างที่กล่าวมานี้อาจจะไม่เจาะจงลงไปที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ก็ชี้ถึงอุปสรรคที่กั้นผู้หญิงจากการคว้าโอกาส สร้างจุดโดดเด่นในการเปลี่ยนแปลงสถานที่การทำงานในปีที่ผ่านมา ผู้หญิงที่ทำงานในแวงวงเทคโนโลยีถึง 46% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 39% ของผู้ชาย) เชื่อว่าสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทัดเทียมกันจะเหมาะสมที่สุดต่อความก้าวหน้าทางการงาน และ 64% คิดว่าการทำงานจากภายนอกออฟฟิศนั้นก็เป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อความเท่าเทียมดังกล่าว ถึงตอนนี้ เซ็คเตอร์เทคโนโลยีเองก็ต้องมองหาจุดสมดุลที่จะสร้างประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงนี้และจะส่งเสริมระเบียบแบบแผนในทางสังคมที่ต่อยอดไปได้ในอนาคต

เมอริซิ วินตัน ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเครือข่าย Ada’s List กล่าวว่า “องค์กรบริษัทต่างๆ ควรต้องมีการส่งสัญญานที่เอื้อต่อการทำงานจากบ้านสำหรับพนักงานที่เป็นพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นทางวัฒนธรรมองค์กรหรือนโยบายที่ให้ความคล่องตัวยืดหยุ่นในช่วงโควิด (และหลังจากโควิด) ความเข้าใจต่อการมีผู้หญิงร่วมอยู่ในระดับบริหารนั้นมีความสำคัญและมีความหมาย ทีมงานที่มีผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่และร่วมอยู่ในการสัมภาษณ์นั้นแสดงถึงพื้นที่สำหรับผู้หญิงในองค์กรนั้นๆ และท้ายที่สุด เราเห็นว่ามีความร่วมมือกันระหว่างองค์กรกับหน่วยงานที่นำโดยผู้หญิงจากภายนอกองค์กรก็ถือได้ว่าเป็นความท้าทายระดับหนึ่ง ผลักดันคุณไปข้างหน้า และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจแก่พนักงานภายในองค์กรได้”

เอฟจินิยา นอโมวา รองประธานฝ่ายเครือข่ายการขายระดับโลก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ถ้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นผู้นำ เน้นความคล่องตัว สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความสมดุลให้แก่พนักงานกลุ่มผู้หญิง ก็น่าที่จะกลายมาเป็นแนวทางนิยมได้อย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้เกิดกระแสความเปลี่ยน แปลงเชิงสังคมได้ไม่ยาก แน่นอนว่าย่อมไม่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่ก็ส่งสัญญานเชิงบวกแก่ฝ่ายหญิงที่จะผลักดันวิถีการทำงานแบบนี้ต่อไป ที่อยากจะฝากไว้คือ เราควรต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยประสบการณ์และเรียนรู้สิ่งที่ดีจากช่วงเวลาที่ผ่านมา ปรับสู่การทำงานที่ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น และเป็นกำลังขับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”

ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดรายงานฉบับเต็มเรื่อง “Where are we now? Understanding the evolution of women in technology” โดยดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของแคสเปอร์สกี้

https://media.kasperskydaily.com/wp-content/uploads/sites/85/2021/01/18101159/Kaspersky-Women-in-Tech-2021-Report-V2-Final.pdf

ที่มา: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น