บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน
ทำไมอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT), แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML), การตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใส จึงมีบทบาทมากในปี 2564
ประสบการณ์จากความยุ่งเหยิงและการชะงักงันที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในปี 2563 เป็นบททดสอบให้กับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้พิสูจน์ว่าจะสามารถรับมือและนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอดและเติบโตในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด ในขณะที่ความไม่แน่นอนดูเหมือนจะยังคงอยู่กับเราต่อไปอีกระยะหนึ่ง บริษัทต่าง ๆ ก็กำลังพยายามพาตัวเองให้ยืนหยัดอยู่ในจุดที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ผ่านแนวทางต่าง ๆ เช่น ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการส่งสินค้าและบริการสู่ตลาดให้เร็วขึ้น, คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร, ความคล่องตัวของระบบซัพพลายเชน และการสร้างออมนิ-แชนแนลโมเดล (omni-channel) ต่าง ๆ เพื่อให้ตอบรับและใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่จะมีมาในอนาคต
ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งผลักดันให้ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวข้างต้นหลายรายการประสบความสำเร็จ เพราะบริษัทต่าง ๆ ล้วนต้องการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นกำลังคน การใช้พลังงาน การใช้น้ำ หรือทั้งหมดที่กล่าวมา ตัวอย่างเช่น ความเที่ยงตรงแม่นยำเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับภาคการเกษตร เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ถูกนำมาใช้และมีความสำคัญมากในการเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อลดการสูญเปล่าให้เหลือน้อยที่สุดและเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุดได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ (ที่มา: Agriculture sector: Preparing for disruption in the food value chain,” McKinsey Quarterly, 2020)
จากข้อมูลดังกล่าว อินฟอร์ได้คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของผู้ผลิตอาหารไว้ดังนี้
คาดการณ์เรื่องที่ 1: คลาวด์มีความคลางแคลงใจเล็กน้อยว่าคลาวด์จะเติบโตอย่างมากในฐานะเป็นเครื่องมือในการสร้างความ แข็งแกร่งและความคล่องตัวอย่างหนึ่งจริงหรือ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่ธุรกิจต้องการ ก็จะเห็นได้ชัดว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ และระบบซัพพลายเชนแบบขยาย (Extended Supply Chain) ให้ได้อย่างครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น การอ่านอุณหภูมิในฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (ERP) ก็มีจุดเล็กจุดน้อยที่จัดเก็บอยู่อย่างปลอดภัยในไฟร์วอลล์ของบริษัท จึงเป็นเหตุผลว่าเราต้องมีดาต้าเลค (Data Lake) บนระบบคลาวด์ และใช้บริการด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต่าง ๆ รวมถึงใช้พลังของการประมวลผลบนคลาวด์ เพื่อมอบความชาญฉลาดและทำให้ข้อมูลมีความสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่มากกว่าเพียงติดตั้งซอฟต์แวร์ใดซอฟต์แวร์หนึ่ง เพราะสิ่งที่ดูว่าเฉียบคมในวันนี้อาจจะถูกเบียดตกขอบไปด้วยตรรกะที่ฉลาดยิ่งกว่าในวันรุ่งขึ้นก็ได้คุณประโยชน์ที่ดียิ่งของคลาวด์ คือ การใช้งานในรูปแบบ as a service แทนการทำโปรเจกต์ด้านไอทีที่ยืดเยื้อ เพียงเพื่อให้ทำงานบางประเภทที่จะไม่ต้องปรับขนาดให้สำเร็จ คลาวด์ยังช่วยให้ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้เร็วกว่า ซึ่งตรงข้ามกับการที่ต้องทำโปรเจกต์เพื่อโยกย้ายทางเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งมักต้องการใช้ทีมงานหลายทีมเพื่อทำงานย้อนกลับที่ละขั้นตอนก่อนที่จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ลูกค้าสำคัญหลายรายของอินฟอร์ได้ย้ายไปใช้คลาวด์ หรือวางแนวทางการใช้คลาวด์ไว้แล้ว อินฟอร์เชื่อว่าในปี 2564 เราจะได้เห็นบริษัทด้านอาหารจำนวนมากขึ้นเปลี่ยนไปใช้คลาวด์ เพราะพวกเขาต้องการเครื่องมือขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นเลิศและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะกระทบต่อธุรกิจของตนได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเกิดความไม่แน่นอนใดขึ้นในอีกสองสามปีต่อจากนี้
คาดการณ์เรื่องที่ 2: Omni-channelบริษัทผู้ผลิตอาหารได้เห็นแล้วว่าความต้องการมีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก จากการที่บริการส่งสินค้าถึงบ้านเข้ามามีความสำคัญมากกว่าการรับประทานที่ร้านและไปซื้อที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตด้วยตนเอง แนวโน้มนี้คงจะไม่กลับไปเป็นเหมือนก่อนการระบาดของโควิด-19 อีกต่อไป เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการสั่งอาหารผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเสียแล้ว ดังนั้น ช่องทางการขายแบบ Omni-channel จะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้ธุรกิจสามารถมีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้น ผู้ผลิตอาหารจำนวนมากจะใช้ช่องทางการขายแบบ Omni-channel ในปี 2564 อย่างแน่นอน ผ่านอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็นเว็บช็อป (Webshop) หรือเชื่อมต่อไปยังตลาดดิจิทัล เช่น Amazon เป็นต้นการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การรับรู้ต่อแบรนด์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แบรนด์จะมีอิทธิพลมากขึ้นหากมีการสร้างความสัมพันธ์ตรงไปยังผู้บริโภคโดยไม่ผ่านผู้ค้าปลีก เมื่อมีคำถามใด ๆ เกิดขึ้นผู้บริโภคในปัจจุบันจะไม่โทรศัพท์ไปที่ฝ่ายบริการลูกค้าตามหมายเลขที่ระบุอยู่บนบรรจุภัณฑ์ คนรุ่นใหม่ไม่อดทนรอ และต้องการสั่งซื้อและได้รับคำตอบต่อคำถามในเวลาที่พวกเขาสะดวกแม้จะเป็นเวลาดึกดื่นแล้วก็ตาม ตัวอย่างของการแก้ปัญหานี้คือการให้บริการผ่านแชทบอท ซึ่งสามารถให้ข้อมูลส่วนผสมของอาหาร หรือคำแนะนำในการจัดเตรียมอาหารต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคได้ และยังให้ข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้บริโภคนำอาหารไปใช้และมีความประทับใจอย่างไร ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ได้
คาดการณ์เรื่องที่ 3: เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม 4.0แม้ว่าจะมีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเปล่าของอาหาร น้ำ และพลังงาน แต่มีเพียง 6% ของผู้แปรรูปอาหารเท่านั้นที่ใช้ IoT โดยอีก 12% ระบุว่ามีแผนที่จะศึกษาบทบาทของ IoT ภายในสองปีข้างหน้า และ 82% ยังไม่มีแผนใด ๆ เลยตัวเลขเหล่านี้อธิบายได้จากข้อเท็จจริงว่า จนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการทดลองบางอย่างในโดเมนที่แยกเป็นโซน (Isolated Domains) เช่น การจดจำภาพในอุปกรณ์สำหรับการตรวจสอบ, อุปกรณ์ IoT ในการเพาะปลูก หรือในสายการผลิตต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างสองสามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ IoT ในวงกว้างเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตต่าง ๆ มีเซ็นเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก เช่น อุณหภูมิและตัวแปรด้านคุณภาพอื่น ๆ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังคงอยู่ในเครื่องจักรและสูญหายไปหลังจากเริ่มดำเนินการผลิตโดยไม่ได้มีการนำไปใช้ต่อให้เป็นประโยชน์การเรียกคืนผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในความเสี่ยงด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มเผชิญอยู่ กระบวนการเรียกคืนในอุตสาหกรรมผลิตอาหารเป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงจะครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียกคืน เช่น การสื่อสารในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบซัพพลายเชนทั้งหมด, การเรียกคืนและการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่เรียกคืนมา, การตรวจสอบเรื่องราวและการทำการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันขึ้นอีก (Michael Koeris, Ph.D., “The True Costs You Endure During a Food Recall,” Food Safety Tech, September 4, 2018).การศึกษายังชี้ให้เห็นว่าไม่มีบริษัทใดอ้างว่าระบบการติดตามตรวจสอบและการบริหารจัดการด้านคุณภาพของตนเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มีเพียง 7% ที่กล่าวว่า “ส่วนใหญ่” มีความพร้อม และครึ่งหนึ่ง (50%) กล่าวว่ายังไม่ใช้ระบบดิจิทัล ในขณะที่ 43% อธิบายสถานะของตนว่าใช้ดิจิทัลอย่างมีขอบเขต “จำกัด”ผลสำรวจเหล่านี้เน้นให้เห็นมากขึ้นว่าข้อมูลจำนวนมากถูกเก็บอยู่ในระบบต่าง ๆ ที่ไม่เชื่อมโยงกัน เช่น สเปรดชีต, ระบบควบคุมคุณภาพหลายระบบ และระบบซัพพลายเออร์หลายระบบที่แตกต่างกัน รวมถึงอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในแอปพลิเคชั่นที่ทำงานแยกจากกันในปี 2564 ผู้ผลิตอาหารมากรายจะมีเส้นทางเดินสู่การนำระบบดิจิทัลมาใช้ ด้วยการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเก็บข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลไปยังธุรกรรมต่าง ๆ ในระบบ ERP ของตน
คาดการณ์เรื่องที่ 4: ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มช่วยให้การใช้ IoT ในลักษณะที่เป็นองค์รวมเป็นไปได้ ประโยชน์ประการแรก คือ สามารถเรียกคืนผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้นและตรงเป้าหมายมากขึ้น ด้วยความสามารถในการระบุและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้ทันที ประโยชน์ประการที่สองคือสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ขับเคลื่อนการตัดสินใจต่าง ๆ และสร้างบริษัทที่มีความสามารถมากขึ้น ตัวอย่างที่ดีคือการมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการขนส่งพืชผลจากต่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวเนื่องกับเวลาที่จะมาถึงโดยประมาณเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับสภาพการเก็บรักษาพืชผลเหล่านั้นระหว่างการขนส่งด้วย เพื่อให้สามารถคาดการณ์คุณภาพและการนำไปใช้ก่อนเวลาหมดอายุได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ความสามารถนี้จะช่วยให้สามารถควบคุมระบบซัพพลายเชนที่อยู่นอกส่วนของโรงงานได้ และนำข้อมูลจากพื้นที่เพาะปลูกไปจนถึงเมื่ออยู่ในมือของผู้บริโภคไปใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต, ลดการสูญเปล่าของอาหาร และลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารให้เหลือน้อยที่สุด และยังสามารถเปลี่ยนความท้าทายต่าง ๆ ให้กลายเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อีกด้วยแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ มีการใช้ระบบการจดจำภาพและแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) เพื่อกำหนดคุณภาพของส่วนผสมอาหารที่ได้รับและนำไปใช้เพื่อกำหนดราคาซื้อ ลูกค้าของอินฟอร์รายหนึ่งได้ใช้ระบบการจดจำภาพและ ML เพื่อกำหนดปริมาณไขมันและเกรดของเนื้อสัตว์ และใช้ข้อมูลนั้นกำหนดราคาซื้อขายกับเกษตรกรนอกจากนี้สิ่งที่จะมีผลอย่างมากต่อความปลอดภัยของอาหารคือการใช้เซ็นเซอร์ IoT ตรวจสอบว่าอุปกรณ์สะอาดหรือไม่ โดยผลลัพธ์ที่ออกมาจะอยู่ในรูปแบบคำสั่งให้ทำความสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนต่าง ๆ ซึ่งจะนำเราก้าวสู่แนวโน้มสำคัญในปี 2564
คาดการณ์เรื่องที่ 5: ความโปร่งใสต่อผู้บริโภคข้อได้เปรียบประการหนึ่งคือความโปร่งใส ผู้บริโภคกำลังแสวงหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพื่อนำไปช่วยในการตัดสินใจซื้อ ทั้งนี้ 67% ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาต้องการทราบทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในอาหารที่ซื้อ 46% ของชาวอเมริกันกล่าวว่า การระบุรายละเอียดในผลิตภัณฑ์อาหารมีอิทธิพลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อเพื่อขานรับต่อความต้องการนี้ ผู้ผลิต 23% กำลังวางแผนที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและข้อมูลอื่น ๆ ของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มในอีกสองปีข้างหน้า ในขณะที่ 15% อ้างว่ามีการใช้งานอยู่แล้วสิ่งสำคัญสำหรับผู้ผลิตที่เหลืออีก 62% คือจะต้องแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่พวกเขากำลังกระทำอยู่ เพื่อรองรับความยั่งยืนให้กับผู้บริโภค เราได้เห็นแล้วว่าผู้ค้าปลีกที่กำลังกดดันให้ผู้ผลิตให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์มีจำนวนมากขึ้น เช่น Tesco ได้ขอรายงานความสูญเปล่าด้านอาหารจากซัพพลายเชน และ Aldi ได้แนะนำ Aldi Transparency Code เพื่อคืนความไว้ใจให้กับอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ ซึ่งบังคับว่าผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ต้องให้ข้อมูลแหล่งที่มากับ Aldi เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าเนื้อสัตว์นั้น ๆ มีแหล่งที่มาจากฟาร์มปศุสัตว์ใดในปี 2563 เราได้เห็น Walmart และ Carrefour เริ่มนำร่องร่วมกับ IBM Food Trust นำ GS1 Digital Link ซึ่งเป็นรหัสสากลที่สามารถสแกนข้อมูลได้ด้วยโทรศัพท์มือถือมาใช้กับอาหารบางประเภท และการเปิดให้ผู้บริโภคได้ใช้ GlobalGAP GGN ซึ่งเป็นหมายเลขสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจสอบย้อนกลับบรรจุภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ในปี 2564 และต่อจากนี้ไป เราจะได้เห็นสิ่งที่กล่าวมานี้ขยายไปใช้งานกับผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทมากขึ้น และใช้เป็นวิธีการสร้างความแตกต่างของผู้ผลิตและพิสูจน์ความยั่งยืนของระบบซัพพลายเชน ซึ่งหมายถึงสามารถขยายการควบคุมระบบซัพพลายเชนตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค และแยกแยะว่าพืชนั้น ๆ ปลอด GMO จริงหรือไม่ มีการป้องกันพืชด้วยวิธีการแบบใด และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ที่มา: เอฟเอคิว